เรียนรู้มารยาทพื้นฐานของคนเกาหลีก่อนไปเจอโอปป้าและออนนี่
ในปัจจุบันวัยรุ่นส่วนมากมักจะชื่นชอบศิลปินเกาหลี อยากที่จะพูดคุยกับศิลปินเหล่านั้นให้รู้เรื่อง
อยากที่จะพบเจอ หรืออยากจะไปสัมผัสบรรยากาศของประเทศที่เขาอาศัยอยู่
นั่นก็คือ ประเทศเกาหลีใต้ ถ้าอยากจะทำตัวให้เหมือนคนเกาหลี ก็ต้องเรียนรู้มารยาท
และวัฒนธรรมของคนเกาหลี มาดูกันดีกว่าว่ามีอะไรที่จะต้องเรียนรู้ไว้บ้าง
1. การทักทาย
คนเกาหลีทำ : การกล่าวคำทักทายและคำขอบคุณนั้น คนเกาหลีจะต้องก้มศีรษะคำนับเสมอ ส่วนการโค้งต่ำระดับไหนนั้น จะขึ้นอยู่กับความอาวุโสของอีกฝ่ายนั่นเอง
การโค้งคำนับของคนเกาหลี
การก้มศีรษะลงอย่างเดียว ถือว่าไม่สุภาพ ไม่เป็นการให้เกียรติคนอื่น
การโค้งคำนับที่ถูกต้อง จะต้องให้ศรีษะตั้งตรง ส่วนคอแตะปกเสื้อตลอดเวลาขณะที่ก้มโค้งคำนับ
เสื้อของเกาหลีในยุคโบราณจะมีปกเสื้อ เวลาใส่เสื้อแบบนี้ คอจะแตะปกเสื้ออยู่ตลอด
เมื่อโค้งคำนับคอจะยังคงแตะปกเสื้อตลอดเวลาของการโค้งคำนับ จึงจะเป็นธรรมเนียมวิธีที่ถูกต้อง
คนเกาหลีไม่ทำ : การกล่าวทักทายด้วยการโอบกอดในที่สาธารณะ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำกับคนที่เพิ่งเจอกันเป็นครั้งแรกหรือไม่ได้สนิทสนมกันพอสมควร นอกเสียจากเป็นการกอดเพื่อการล่ำลา
2. การเรียกผู้อื่น
คนเกาหลีทำ : การเรียกคนที่ไม่รู้จักกัน หรือไม่รู้จักชื่อ จะใช้คำพูดที่เป็นการเกริ่นนำขึ้นมาก่อนไม่ได้มีคำเรียกบุคคลนั้นตายตัว เช่น ขอโทษนะคะ,ไม่ทราบว่า แต่บอาจจะใช้คำสรรพนามที่สามารถ ใช้เรียกได้เลย เช่น 아저씨 (อาจอชี) ซึ่งแปลว่า คุณลุง หรือ 아줌마 (อาจุมม่า) ซึ่งแปลว่า คุณป้า การเรียกคนที่มีอายุมากกว่า จะไม่เรียกชื่อเขา แต่จะใช้สรรพนามให้เหมาะสมกับเขาคนนั้น แต่ถ้าเรียกคนที่มีอายุน้อยกว่า หรือเป็นเพื่อนรุ่นเดียวกัน สามารถเรียกชื่อได้ หรืออาจใช้สรรพนามแทนก็ได้เช่นกัน การเรียกผู้อาวุโสอาจเติมคำว่า 님 (นิม : เป็นคำต่อท้ายที่แสดงถึงความเคารพหรือหมายถึงการให้เกียรติ หรือผู้ที่น่ายกย่อง) ต่อท้ายตำแหน่งหน้าที่การงานของบุคคลนั้น เช่น ครู,อาจารย์ (선생님 อ่านว่า ซอนแซงนิม) หรือเติมคำว่า “คุณ” (씨 อ่านว่า ชี) ต่อท้ายชื่อเต็มของเพื่อนร่วมงาน เพื่อความสุภาพมากขึ้น เช่น คุณฮานึล (하늘씨 อ่านว่า ฮานึลชี)
*เรามักจะได้ยินศิลปินจากค่าย SM Entertainment กล่าวขอบคุณประธานของค่ายอย่างคุณอีซูมานอยู่บ่อยๆและพวกเขาจะเรียกว่า “อีซูมานซอนแซงนิม” ซึ่งเป็นการเรียกที่ให้เกียรติและแสดงความเคารพ*
คนเกาหลีไม่ทำ : จะไม่เรียกคนที่ไม่รู้จักกันหรือไม่รู้จักชื่อว่า 너 (นอ) ซึ่งแปลว่า คุณหรือเธอ เพราะเป็นคำที่ใช้เรียกกันเฉพาะเพื่อนหรือคนสนิทเท่านั้น
3. การรับประทานอาหาร
คนเกาหลีทำ : ใช้ตะเกียบโลหะกับช้อนยาวโดยใช้ช้อนรับประทานข้าวซุป และสตูว์ และใช้ตะเกียบกับเครื่องเคียงแบบอาหารแห้ง เคี้ยวอาหารหรือซดน้ำซุปเสียงดัง เพื่อแสดงความอร่อย (คล้ายวัฒนธรรมจีนและญี่ปุ่น) วางช้อนและตะเกียบลงบนโต๊ะเมื่อทานเสร็จ แล้วน้อมรับคำชมเกี่ยวกับรสชาติอาหารและบริการผู้น้อย
ก่อนจะรับประทานอาหาร ต้องรอให้ผู้อาวุโสที่สุดเป็นฝ่ายบอกเริ่มการรับประทานอาหารเสมอ เมื่อมีคนรินเครื่องดื่มให้ก็ควรรินกลับเพื่อเป็นการแสดงความขอบคุณ ผู้ที่มีอายุน้อยที่สุดต้องเป็นคนรินเครื่องดื่มให้ผู้อาวุโส กว่าเสมอและต้องรินด้วยสองมือ
คนเกาหลีไม่ทำ : ใช้ช้อนและตะเกียบพร้อมกัน ปักตะเกียบไว้ในชามข้าว เพราะถือว่าเป็นการเซ่นไหว้คนตาย ยกจานหรือชามขึ้นมาขณะรับประทานอาหาร การพูดคุยระหว่างมื้ออาหารที่มากเกินไป การสั่งน้ำมูกในโต๊ะอาหาร ลุกจากโต๊ะอาหารก่อนที่ผู้อาวุโสที่สุดจะรับประทานเสร็จ รินเครื่องดื่มให้ผู้อื่นขณะที่เครื่องดื่มในแก้วยังไม่หมด
4. การแสดงออก
คนเกาหลีทำ : การจับมือทักทายกันอย่างสุภาพ โอบกอดในที่สาธารณะทำเฉพาะกรณีเพื่อการร่ำลา แสดงออกอย่างอ่อนน้อมถ่อมตน ชาวเกาหลีจะแสดงแสดงความคิดเห็นด้วยความระมัดระวังรอบ คอบเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้อื่นเกิดการเข้าใจหรือตีความหมายผิด
คนเกาหลีไม่ทำ : การแสดงความรักระหว่างเพศในที่สาธารณะ (เช่น กอด, จูบ) ถูกเนื้อต้องตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณศีรษะ นอกจากจะแสดงความเอ็นดูต่อเด็กเล็กๆ เท่านั้น คุยโวโอ้อวดความสามารถของตนเอง แสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมาทิ้งขยะบนท้องถนนเพราะค่าปรับแพง
5. การใช้มือรับของ
คนเกาหลีทำ : คนเกาหลีเวลาที่จะมอบและรับสิ่งของหรือรับสิ่งของจากผู้ใหญ่จะทำโดยการใช้มือทั้งสองมือในการรับ
คนเกาหลีไม่ทำ : รับของจากผู้ใหญ่โดยใช้มือเดียวจะถือว่าเป็นการเสียมารยาท
ที่มาข้อมูล
AMNC. (มปป.). วัฒนธรรมที่คนเกาหลีทำและไม่ทำ. สืบค้น 22 เมษายน 2560,
จาก http://hellomiki.com/m/viewcontent.php?id=6719
Phuket Jet Tour Co.,Ltd. (2558). การโค้งคำนับของคนเกาหลี. สืบค้น 22 เมษายน 2560,
จาก https://th-th.facebook.com/PhuketJetTour/posts/1009068905784764
จัดทำโดย
นางสาวกาญจนา นาคเจือทอง 590107030003
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น